รมว.ยุติธรรม ลงพื้นที่ประเดิมปลูกกระท่อมก้านแดง พืชเศรฐกิจ ต้นแรกของ จ.น่าน

ที่จังหวัดน่าน รมว.ยุติธรรม ลงพื้นที่ประเดิมปลูกกระท่อมแดงพืชเศรษฐกิจต้นแรกของน่าน คาดมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 300 บาท พร้อมให้ความรู้เป็นพืชเศรษฐกิจชุมชนตัวใหม่ แต่ต้องมีการวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า

วันที่ 14 พ.ย.2564 ที่โรงเรียนปัว จ.น่าน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในงาน การสร้างการรับรู้นโยบายพืชกระท่อมสู่เศรษฐกิจชุมชน พร้อมด้วย นายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายวิศิษฐ์ ทวีสิงห์ ปลัดจังหวัดน่าน พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บัญชาการตํารวจภูธรภาค 5 นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. นายคุณดร งามธุระ คณะที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม พล.ต.ต.ดุลเดชา อาชวะสมิตตระกูล ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดน่าน นายสมเกียรติ อาจสังข์ นายอําเภอปัว นายประกวด พายัพสถาน ผู้อํานวยการโรงเรียนปัว และประชาชนกว่า 700 คนร่วมงาน โดยมีมาตรการตรวจ ATK ทุกคนก่อนเข้างาน

พืชกระท่อมมีประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจและการแพทย์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เห็นประโยชน์ จึงเสนอการถอดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดประเภทที่ 5 ผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจและใช้ตามวิถีชาวบ้าน จ.น่าน พร้อมที่จะรับนโยบายในการผลักดันพืชกระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจต่อไป ได้แก้ไขกฎหมายให้พืชกระท่อมถูกกฎหมาย ซึ่งก่อนที่จะมีการปลดล็อกกระท่อมให้ถูกกฎหมาย ป.ป.ส.โดยนายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. ได้ช่วยร่างกฎหมายจนปลดล็อกได้สำเร็จ ซึ่งในช่วงก่อนที่จะปลดล็อกได้มีหมู่บ้าน 135 หมู่บ้านที่นำร่องในการปลูกพืชกระท่อมในนี้รวมถึงจังหวัดน่านด้วย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ทางป.ปส.ได้อนุญาตให้ปลูกบ้านละ 3 ต้น พืชกระท่อมขณะนี้ราคากิโลกรัมละ 300-500 บาท 1 ต้นจะเก็บเกี่ยวใบได้ประมาณ 216 กิโลกรัมต่อปี หากปลูกบ้านละ 3 ต้น จะได้ปีละ 648 กิโลกรัม หากตีเป็นเงินจะได้ประมาณ 194,400 บาทต่อปี และหากปลูก 1 ไร่จะได้ประมาณ 25 ต้น ผลผลิต 5,400 กิโลกรัม เป็นเงินประมาณ 1,620,000 บาท ต่อปี และขณะนี้พืชกระท่อมสามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น อาหาร ยารักษาโรค อาหารเสริม เวชสำอางค์ ซึ่งมีมูลค่ารวมในตลาดมากถึง 1.459 ล้านล้านบาท ดังนั้นการปลูกพืชกระท่อม หากแห่กันปลูกเหมือนพืชอื่นๆจะทำให้ราคาตกต่ำ จากราคากิโลกรัมละ 300 บาทอาจจะเหลือแค่ 20-30 บาทเท่านั้น เราไม่อยากให้กระท่อมออกมารูปแบบนี้ แต่หากเรามีนวัตกรรมใหม่ๆ มีการสร้างงานวิจัย และอย่างมอร์ฟีนที่ประเทศมหาอำนาจขายกัน กระท่อมมีสารที่ช่วยระงับการปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีนหลายเท่า ซึ่งหาเราวิจัยและพัฒนาได้จะเพิ่มมูลค่าของพืช ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งสร้างงานวิจัยต่างๆออกมาอย่างเร่งด่วน
นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า ในขณะนี้ตลาดเจ้าใหญ่ในการส่งออกใบกระท่อม ไปยังสหรัฐอเมริกา คือประเทศอิโดนีเซีย สามารถผลิตใบกระท่อมใบแห้งเพื่อส่งออกเดือนละประมาณ 20 ตัน หลังจากปลดล๊อคแล้วหากประเทศไทยผลิตได้ ก็สามารถแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้ และยังนำเงินเข้ามาหมุนเวียนในประเทศได้อีกหลายพันล้านบาท ซึ่งในสหรัฐอเมริการ นำใบกระท่อมไปผลิตเป็นยารักษาโลก โดยการบรรจุลงในแคปซูนเพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้หากประเทศไทยมีทีมวิจัยในเรื่องใยกระท่อม ก็สามารถเพิ่มมูลละค่าทางการตลาดได้อีกทาง โดยสารที่สะกัดนั้นมีสารเมต้าไจนิน และ เซเวนไฮดอกไซน์ มีคุณสมบัติคลายกับมอฟีน หากทำการผลิดได้ก็อาจสามารถนำไปใช้แทนมอฟีนได้

ในส่วนของ ดร นพดล โปธิตา ประธานโครงการส่งเสริมการปลูกพืชกระท่อมก้านแดง เปิดเผยว่า ในการปลูกกระท่อมนั้น จำเป็นต้องดูแลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยต้นทางต้องสามารถผลิตกล้าพันธ์กระท่อมให้ได้ทันกับความต้องการของตลาด ในส่วนกลางนั้นจำเป็นต้องให้ความรูปดูแลเกษตกร ควบคุมการปลูกให้ได้มาตรฐานคุณภาพ เพื่อสำหรับการส่งออกไปยังต่างประเทศ และในส่วนของปลายทางจำเป็นต้องมีผู้รับซื้อใบกระท่อมกับเกษตรกรที่มีความน่าเชื่อถือรวมไปถึงรัฐบาลที่สามารถประกันราคาให้กับเกษตกรที่ปลูกพืชกระท่อมในการรับซื้อและส่งออกไปยังต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี พืชกระท่อมยังเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่เกษตกรให้ความสนใจแต่ยังไม่มีความรู้มากนัก จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนให้ความรู้กับเกษตกรทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันเพื่อทำการส่งเสริมพืชกระท่อมให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจและสามารถนำเงินเข้ามาหมุนเวียนในประเทศได้.

ภาพ/ข่าว ศูนย์ข่าว ภาคเหนือ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม