เจาะประเด็นดราม่าร้อน ทำไม “ตะไคร้หอม” สมุนไพรคู่บ้าน จึงเป็นวัตถุอันตราย

เจาะประเด็นดราม่าร้อน ทำไม ตะไคร้หอม สมุนไพรคู่บ้าน จึงเป็นวัตถุอันตราย

จากกรณีที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมการกำหนดพืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 คือผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ สะเดา ชา/กากเมล็ดชา ข่า ขิง ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม สาบเสือ ดาวเรือง พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายยาก เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรจัดทำข้อมูลเพื่อยกร่างเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อปลดล็อกบัญชีพืชสมุนไพรจากการเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2
ทั้งนี้ จากการขึ้นทะเบียนของกรมวิชาการเกษตร พบว่า สารธรรมชาติ จะแยกออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ สารสกัดธรรมชาติจากพืชได้จากการสกัดจริง และสารธรรมชาติจากพืชที่ไม่ผ่านการสกัด ซึ่งไม่สามารถทำการปลดล็อกสารธรรมชาติจากการสกัดออกเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้ เนื่องจากเมื่อทำการสกัดแล้วจะได้สารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืช เพียว 100% ใช้เพียงนิดเดียวก็มีความเป็นพิษ และมีความเป็นพิษมากแต่ถ้าเป็นสารธรรมชาติจากพืชที่ไม่ผ่านการสกัด เช่น การนำไปตากแห้ง บ่ม สับ แล้วนำมาใช้เลย ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน ไม่ต้องแจ้งว่ามีสารสำคัญในปริมาณเท่าไหร่ หรือใช้ในอัตราเท่าไหร่
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2552 ให้ หลังมีประกาศฉบับนี้ได้ถูกภาคประชาชนร้องเรียนให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณายกเลิกให้ถอดพืชสมุนไพรข้างต้นออกจากการเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และประกาศฉบับนี้ได้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2538 ที่ประกาศให้ สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ให้ประกาศเป็น วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 แทน ต่อมา ได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2556 ให้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 อีกครั้ง


พืช “ตะไคร้หอม” จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับตะไคร้บ้าน แต่มีกลิ่นหอมฉุนที่แรงกว่า นิยมนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ต้มน้ำดื่ม ทำธูป และใช้ในการป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งความต้องการของตระไคร้หอมส่วนมากมีความต้องการมากในกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน และโรงพยาบาล เพื่อน้ำไปสกัดน้ำมันหอมระเหย แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น ยากันยุงและแมลง สารให้กลิ่นในเครื่องสำอาง ยารักษาโรค และน้ำสมุนไพร ส่วนที่เหลือจะจำหน่ายเข้าสู่โรงงานแปรรูปโดยตรง และบางส่วนส่งออกจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ
ปัจจุบันมีการนำตระไคร้หอมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งการแพทย์และการเกษตร โดยการใช้ประโยชน์จากตะไคร้หอมทางด้านการแพทย์ ของตะไคร้หอม คือ เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าตะไคร้บ้าน พบในส่วนใบ กาบใบ และลำต้น มีสรรพคุณทางยา ใช้แก้ริดสีดวงในปาก ปากแตกระแหง แผลในปาก ขับลมในกระเพราะ ลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ส่วนการใช้ประโยชน์จากตะไคร้หอมทางการเกษตร คือ น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมคุณสมบัติป้องกันตัวเต็มวัยและสามารถฆ่าไข่ของด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculates) ซึ่งเป็นแมงลงในโรงเก็บเข้าทำลายเมล็ดถั่วเขียวที่เก็บ โดยใช้ citronellal ความเข้มข้นร้อยละ 5 ตั้งทิ้งไว้ในโรงเก็บเมล็ดเป็นเวลา 3 ชั่วโมงสามารถออกฤทธิ์ไล่ตัวเต็มวัยและไข่ของด้วงถั่วเขียวได้


หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม่วันนี้เราถึงมาพูดกันเกี่ยวกับเรื่องราวของตะไคร้หอม นั่นเพราะเกิดข้อถกเถียงเรื่อง ตะไคร้ที่ถูกพูดถึงในวงการสมุนไพรอยู่ตลอด เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2552 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศให้ตะไคร้หอมและพืชสมุนไพรอื่นๆ ได้แก่ สะเดา ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก รวม 13 ชนิด ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2

มาถึงคำถามคาใจใครหลายคนที่ว่า ทำไมสมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคยดีนั้นจึงถูกจัดเป็นวัตถุอันตราย? โดยเฉพาะ 13 สมุนไพร ได้แก่ สะเดา ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก
มีคำตอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่า พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ถูกนิยามไว้ว่าเป็นพืชที่เกษตรกรได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสารควบคุมแมลงเพื่อทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
จึงสรุปง่ายๆ ได้ว่าพืชทั้ง 13 ชนิดนั้นถูกใช้ประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และสารสกัดธรรมชาติจากพืชเหล่านั้นมีความเสี่ยงต่อความเป็นพิษ จึงต้องถูกควบคุมตามกฎหมาย โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ครอบครองที่จะมีไว้ใช้ จะต้องทำการขึ้นทะเบียน และแจ้งการดำเนินงานกับกรมวิชาการเกษตร

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม