ผบ.ร.3พัน.3 และประธานสมาคมแม่บ้าน ค่ายพระยอดเมืองขวาง พร้อมพุทธศาสนิกชนร่วมทอดถวายกฐินสามัคคี วัดพุทธาวาสภูสิงห์ อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์

ผบ.ร.3พัน.3 และประธานสมาคมแม่บ้าน ค่ายพระยอดเมืองขวาง พร้อมพุทธศาสนิกชนร่วมทอดถวายกฐินสามัคคี วัดพุทธาวาสภูสิงห์ อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์

ผบ.ร.3พัน.3 และประธานสมาคมแม่บ้าน ค่ายพระยอดเมืองขวาง พร้อมพุทธศาสนิกชนร่วมทอดถวายกฐินสามัคคี วัดพุทธาวาสภูสิงห์ อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์

วันที่ 25 ตุลาคม 2563 เวลา 08.00 น. ที่วัดพุทธาวาสภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  พันโท อุทัย   นิลเนตร ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 3 (ผบ.ร.3 พัน.3)  พร้อมด้วย คุณสิริกัญญา  นิลเนตร ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 3 ค่ายพระยอดเมืองขวาง (ประธานสมาคมแม่บ้าน ทบ. สาขา ร.3 พัน.3) พร้อมข้าราชการและครอบครัว ร.3 พัน.3 ชุมชนค่ายพระยอดเมืองขวาง ต.กุรุคุ อ.เมือง จ.นครพนม พร้อมทั้งพุทธศาสนิกชนผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทั้งในและนอกพื้นที่อำเภอสหัสขันธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  ได้ร่วมกันเชื่อมกุศลบุญเพื่อสร้างสะพานบุญครั้งยิ่งใหญ่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพร่วมทอดถวายกฐินสามัคคี วัดพุทธาวาสภูสิงห์ อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์  จำนวน 1, 701,596 บาท เพื่อสมทบทุนโครงการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม

วัดพุทธาวาส ภูสิงห์ ตั้งอยู่บนยอดเขาภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ ใกล้ตลาดสหัสขันธ์ ห่างจากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ 34 กม. เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัยขนาดใหญ่นามว่าพระพรหมภูมิปาโล อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสหัสขันธ์ พระพรมภูมิปาโลสร้างเมื่อวันที่ 14 เดือน เมษายน พุทธศักราช 2511 นายช่างที่ก่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้เป็นช่างจากบ้านสีถาน อำเภอกมลาไสย ซึ่งเป็นกลุ่มช่างที่สืบทอดวิชาช่างมาจากกลุ่มสกุลช่างล้านช้างนานนับหลายร้อยปี สืบเนื่องจากปลายปี พ.ศ. 2509 คณะกรรมการส่งเสริมพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมและประเพณีจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายบุรี พรหมลักขโณ เป็น ประธาน ได้มีมติให้ก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนยอดเขาภูสิงห์ด้านทิศใต้ เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และเป็น มิ่งมงคลแก่บ้านเมือง การก่อสร้างพระพุทธรูปบนไหล่เขาภูสิงห์เป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ เพราะได้รับความร่วมมือศรัทธาจากคณะสงฆ์ ประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2511 ตามคำแนะนำของท่านโหราพราหมณาจารย์ และได้รับความเมตตาจากพระคุณเจ้า เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม)  ได้ผูกดวงชะตาขององค์พระพุทธปฏิมาที่ก่อสร้างซึ่งตรงกับภูมิปาโลฤกษ์ และต่อมาได้ใช้เป็นคำต่อท้ายนามองค์พระพุทธปฏิมากรและเมื่อสมาสเข้ากับคำว่า “พรหม” อันมีความหมายถึงพรหมวิหารธรรม เป็น “พระพรหมภูมิปาโล” รวมความหมายว่า “พระผู้ยิ่งใหญ่และเปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม ที่คอยให้ความพิทักษ์คุ้มครองสถานทั่วปริมณฑล” นั่นเอง ในงาน สมโภชและพุทธาภิเษกองค์พระพุทธปฏิมากร ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น เป็นประธานพิธีเปิดงานและประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ยังเบื้องพระนลาฏองค์พระพุทธปฏิมากร เพื่อเพิ่มพูนความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระพุทธปฏิมากร

ปัจจุบัน นี้ พระพรหมภูมิปาโล อยู่ในความดูแลของคณะสงฆ์และส่วนราชการอำเภอสหัสขันธ์ คณะสงฆ์กำหนดให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่พำนักสงฆ์นามว่า “ ที่พำนักสงฆ์พุทธาวาส” โดยมี พระมหานำพล ทิตฺตวฑฺฒโน เจ้าคณะตำบลภูสิงห์เป็นประธานสงฆ์ เป็นศูนย์เผยแผ่ธรรม และเป็นสถานที่พักผ่อนจิตใจชมธรรมชาติ เพราะเมื่อได้ขึ้นมาบนที่พำนักสงฆ์พุทธาวาส จะสามารถมองเป็นทิวทัศน์ได้รอบด้าน คือด้านทิศใต้จะมองเห็นภูมิภาพอันสวยงามเหนือทะเลสาบเขื่อนชลประทานลำปาว และสภาพบ้านเมืองของเทศบาลตำบลโนนบุรี ด้านทิศตะวันออกจะมองเป็นทิวทัศน์อันงดงามของ ภูปอ ภูค่าว ภูเป้ง และภูกุ้มข้าว ประหนึ่งสวนพฤกษาธรรมชาติ ที่สร้างไว้อย่างงดงาม ด้านทิศตะวันตกจะมองเป็นทิวเขาคันโทในเขตอำเภอท่าคันโทที่อยู่ไกลสุดขอบฟ้า และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง การเดินทางขึ้นบนยอดเขาสามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ บันไดเดินเท้าจำนวน 417 ขั้น และถนนลาดยางระยะทาง 3 กิโลเมตร.

ภาพ  : 303 PR TEAM/POT โปรปริ้นท์ติ้ง
ข่าว : ไทบ้าน  นิวส์ (พรพิพัฒน์  เพ็ชรสังหาร)

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม