ผู้การยักษ์! ค่ายกฤษณ์สีวะรา โชว์ลีลาการเป่าขลุ่ยให้น้อง ๆ ทหารใหม่ได้รับฟังในยามว่างเว้นจากการทำงาน

ผู้การยักษ์! ค่ายกฤษณ์สีวะรา โชว์ลีลาการเป่าขลุ่ยให้น้อง ๆ ทหารใหม่ได้รับฟังในยามว่างเว้นจากการทำงาน

ผู้การยักษ์! ค่ายกฤษณ์สีวะรา โชว์ลีลาการเป่าขลุ่ยให้น้อง ๆ ทหารใหม่ได้รับฟังในยามว่างเว้นจากการทำงาน

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.2563 จังหวัดสกลนคร ผู้สื่อข่าวในพื้นที่รายงานว่าในช่วงเย็นๆ ของกรมทหารราบที่ 3 ค่ายกฤษณ์สีวะราในยามที่ พันเอก สุคนธรัตน์ ชาวพงษ์ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 3 (ผบ.ร.3) ว่างเว้นจากการทำงานก็มักจะเห็นท่านนั่งพื้นพบปะพูดคุยกับน้องๆ ทหารใหม่ของหน่วย ร.3 เพื่อถามไถ่ทุกข์สุขความเป็นอยู่ รวมทั้งครอบครัวทางบ้านอยู่เป็นประจำ และบางโอกาสก็ได้เห็นการโชว์ลีลาการเป่าขลุ่ยให้น้องๆทหารใหม่ของหน่วย ได้รับฟัง ซึ่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 3 (ผู้การยักษ์) เป็นอีกหนึ่งคนที่หลงไหลในเสียงขลุ่ย เป็นนายทหารที่มีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะ ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมของมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่ติดตัวมา ทั้งยังได้ศึกษาเรียนรู้ จนสามารถทำขลุ่ยได้เอง เป็นความสามรถพิเศษส่วนบุคคล เมื่อฝึกฝนจนมีความชำนาญแล้ว ก็อยากมุ่งหวังถ่ายทอดความรู้ให้น้องๆทหารใหม่ รวมถึงเยาวชนรุ่นหลัง ได้ร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดเครื่องดนตรีชนิดนี้ (ขลุ่ย)ให้คงอยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยต่อไป

คนไทยเป็นคนที่มีพรสวรรค์ทางศิลปะ จะเห็นได้ว่างานหัตถกรรมของไทยงดงามไม่แพ้ของชนชาติใดในโลก ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมจึงทำให้เรามีมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ขลุ่ยก็เช่นเดียวกัน นอกจากขลุ่ยเพียงออ ซึ่งสืบทอดคุณลักษณะและรูปร่างมาแต่โบราณแล้ว ต่อมาบรรพบุรุษของเรายังได้คิดค้น “ขลุ่ยหลีบ” ไว้สำหรับเล่นคู่กับขลุ่ยเพียงออ “ขลุ่ยอู้” ซึ่งคิดค้นขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ประกอบการละเล่นละครดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้น ก็ยังมีขลุ่ยที่เรียกชื่ออย่างอื่นอีก เช่น ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยเคียงออ ขลุ่ยรองออ ขลุ่ยออร์แกน เพื่อให้เหมาะกับการที่จะไปเล่นผสมกับวงดนตรีประเภทต่างๆ ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่ง แต่จะเป็นเครื่องดนตรีที่คนไทยคิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เอง หรือได้รับอิทธิพลจากชาติอื่นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด เพราะชาติอื่นก็มีเครื่องเป่าซึ่งมีลักษณะคล้ายกับขลุ่ยของคนไทยเหมือนกัน เช่น ขลุ่ยของญี่ปุ่นเรียก ซากุฮาชิ ซึ่งใช้เป่าเหมือนกับขลุ่ยไทย ขลุ่ยของอินเดียเรียก มุราลี ส่วนของจีนก็มีก็มีขลุ่ยเช่นเดียวกันแต่ใช้เป่าด้านข้างเรียกว่า ฮวยเต็ก ถ้าเป็นแบบที่ใช้เป่าตรงแบบขลุ่ยไทยจะเรียกว่า โถ่งเซียว แต่จะต่างกันตรงที่ขลุ่ยของจีนไม่มีดาก การเป่าต้องใช้การผิวลมจึงจะเกิดเสียง ขลุ่ยได้ผ่านการวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน มาจากปี่อ้อซึ่งตัวปี่หรือเลาทำจากไม้รวกท่อนเดียวไม่มีข้อ และมีลิ้นซึ่งทำด้วยไม้อ้อลำเล็กสำหรับเป่าให้เกิดเสียง หลังจากนั้นจึงปรับเปลี่ยนรูปร่าง และวิธีเป่าจนกลายมาเป็นขลุ่ยอย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่าเป็นขลุ่ยเพียงออ.

ภาพ : ช่างภาพ ร.3
ข่าว : พรพิพัฒน์ เพ็ชรสังหาร

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม