ผู้ตรวจ ทส.ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ กำชับเตรียมรับมือป้องกันไฟป่าลดค่าPM 2.5

ผู้ตรวจ ทส.ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ กำชับเตรียมรับมือป้องกันไฟป่าลดค่าPM 2.5

ผู้ตรวจ ทส.ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ กำชับเตรียมรับมือป้องกันไฟป่าลดค่าPM 2.5

วันที่ 15 ธ.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจงคล้าย วรพงศธร ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายสิทธิชัย เสรีส่งแสง ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 7 (นครราชสีมา) นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นายอิสระ พรหมเดชบุญ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยภูมิ และนายศักดิ์ชัย จงกิจวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ร่วมกันทำพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร”จิตอาสา”ตามโครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า ในระหว่างวันที่ 14 -18 ธ.ค.63 ณ อุทยานแห่งชาติตาดโตน อ.เมือง จ.ชัยภูมิ โดยมีนาย นพวงศ์ พฤกษชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตาดโตน พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ

เพื่อเป็นการเร่งหามาตรการป้องกันปัญหาการเกิดไฟป่าในช่วงหน้าแล้ง ที่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในหลายพื้นที่เป็นประจำทุกปี ที่จะส่งผลให้เกิดค่า PM 2.5 คุณภาพอากาศเกิน8jkมาตรฐานในช่วงนี้โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการช่วยกันทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าให้เกิดความต่อเนื่องมากขึ้น

โดยนายจงคล้ายฯ กล่าวว่า การแก้ปัญหาในเรื่องนี้จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ จะต้องใช้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเหล่าจิตอาสาที่มีในพื้นที่ที่ในครั้งนี้จะเดินหน้าในส่วนของพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ทั้งหมดจากทุกอำเภอในทั้ง 16 อำเภอ ทั่วทั้งจังหวัด มาร่วมเป็นจิตอาสาโครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า เพื่อขยายผลให้เกิดการมีส่วนร่วมกับประชาชนในทุกพื้นที่ให้มากขึ้น ซึ่งจังหวัดชัยภูมิ ถือเป็นจังหวัดที่ 6 ที่จะมีการจัดหลักสูตรการอบรมโครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่าให้ยั่งยืนให้ต่อเนื่องช่วยกันให้มากขึ้น ไม่ว่าเรื่องการเกิดความเข้าใจแบบผิดๆ แบบดั่งเดิมของชาวบ้านคนในชุมชนที่เคยมีมาแบบผิดๆซ้ำซากมาทุกปี ที่เข้าใจว่าหากมีการเผาป่าก็จะทำให้ของป่าออกมาขึ้น อย่างเช่น การเก็บเห็ดป่าไปขาย ซึ่งเรื่องนี้อยากให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้มากขึ้น เพราะเป็นการทำลายระบบนิเวศให้รุนแรงมากขึ้นมีผลเสียมากกว่า แทนที่จะทำให้เห็ดออกมาก แต่ก็เป็นการทำให้เห็ดมีจำนวนลดน้อยลงจากป่าไป รวมทั้งยังเป็นการไปก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพอากาศที่มีค่า PM 2.5 เป็นปัญหาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางอากาศตามมาอีกจำนวนมากในขณะนี้ในทั่วประเทศด้วยต่อไป.

ภาพ : ข่าว มัฆวาน วรรณกุล ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ชัยภูมิ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม