จ่อร้อง “สตง.-ป.ป.ช.”สอบประมูลศูนย์ข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า กฟภ. ศรีสุวรรณเดินเต็มสูบ!

“ศรีสุวรรณ” ร้อง “สตง.-ป.ป.ช.”สอบการประมูลศูนย์ข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า 887 ล้าน มีพิรุธ!

19 พ.ค.2563  นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้ประกวดราคาซื้อพร้อมติดตั้งระบบและการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารแบบรวมศูนย์ของ กฟภ.(IT Infrastructure Design and Consolidation for PEA : ITiDC) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 887 ล้านโดยมีการเปิดให้มีการยื่นเสนอราคาไปเมื่อวันที่ 27 เม.ย.63 ที่ผ่านมานั้น

          โครงการดังกล่าว กฟภ.ได้เขียนข้อกำหนดในเรื่องคุณสมบัติของผู้ยื่นประมูลไว้ 2 ชั้น คือ ชั้นแรก กำหนดให้ผู้เข้าประกวดราคาต้องมีผลงานด้านสารสนเทศไม่น้อยกว่า 150 ล้าน ขั้นที่สอง ผู้เข้าประกวดต้องมีผลงานด้าน SDN (Software defined network) ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท นับเป็นครั้งแรกในธุรกิจวงการไอทีของโครงการภาครัฐที่กำหนดคุณสมบีติผู้เข้าประกวดราคาถึง 2 ชั้น ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในโครงการภาครัฐอื่นๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนมีจำนวนน้อยมาก ทำให้มีผู้เข้าประกวดเพียงไม่กี่ราย  ย่อมเป็นการกีดกันทางการค้าอย่างชัดเจน ทั้งที่เป็นโครงการสำคัญในภาครัฐ ซึ่งคุณสมบัติในชั้นที่สอง เป็นการกำหนดที่ส่อเจตนาอย่างชัดเจน เพราะโครงการนี้เป็นโครงการสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) แต่กลับใช้ผลงานด้านเครือข่าย (Network) มาใช้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญ ทำให้ กฟภ.อาจได้คู่สัญญาที่ไม่ตรงตามความต้องการได้ เหมือนกับการจะซื้อรถบรรทุก แต่กำหนดให้ผู้เสนอขายต้องมีผลงานด้านการขายมอเตอร์ไซด์ เป็นต้น

นอกจากนั้น เป็นที่น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่ามีบางบริษัทเสนอราคาประมูลในครั้งนี้ในราคาที่ต่ำสุด คือประมาณ 668 ล้านบาท ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศและไอที แต่กลับถูกปัดตกโดยอ้างว่าขาดคุณสมบัติตามที่ทีโออาร์กำหนดไว้ ส่วนผู้ที่ประมูลได้น่าจะเสนอราคาใกล้เคียงกับมูลค่าโครงการคือ 887 ล้านบาท ทำให้ยิ่งเป็นที่น่าสงสัยในการจัดการประมูลในครั้งนี้

ที่สำคัญการประมูลครั้งนี้ มีความเกี่ยวโยงกับโครงการภาครัฐบางโครงการอย่างโดยบังเอิญ โดยเฉพาะโครงการไอทีของรัฐสภา ที่มีการลงนามสัญญาไปเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งมีชื่อบริษัทที่ปรึกษาโครงการชื่อ เมอลิน และ บ.แอดวานซ์ อินฟอร์เทชั่น เทคโนโลยี จำกัด(มหาชน) หรือ AIT เป็นผู้ได้สัญญาในโครงการดังกล่าวแล้ว ซึ่งปรากฏว่า ทั้งสองบริษัทกลับมีปรากฏในรายชื่อเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประกวดราคาของโครงการ ITiDC ของ กฟภ.ด้วย ทำให้เป็นที่สงสัยว่าถ้าโครงการนี้ผู้ชนะการประมูลเป็นบริษัทเดียวกันกับโครงการไอทีของรัฐสภาก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะยังไม่ปรากฎว่าคู่สัญญาของรัฐสภาจะสามารถส่งมอบงานให้เรียบร้อยตามสัญญาได้แต่อย่างใด

          การประกวดราคาดังกล่าว อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการบางรายที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจขัดต่อแนวทางปฏิบัติที่คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ (คณะกรรมการวินิจฉัย) ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ม.8 วรรคหนึ่ง (2) ที่บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐต้องโปร่งใส โดยต้องกระทำโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน ฯลฯ

ที่สำคัญการประมูลครั้งนี้ มีความเกี่ยวโยงกับโครงการภาครัฐบางโครงการอย่างโดยบังเอิญ โดยเฉพาะโครงการไอทีของรัฐสภา ที่มีการลงนามสัญญาไปเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งมีชื่อบริษัทที่ปรึกษาโครงการชื่อ เมอลิน และ บ.แอดวานซ์ อินฟอร์เทชั่น เทคโนโลยี จำกัด(มหาชน) หรือ AIT เป็นผู้ได้สัญญาในโครงการดังกล่าวแล้ว ซึ่งปรากฏว่า ทั้งสองบริษัทกลับมีปรากฏในรายชื่อเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประกวดราคาของโครงการ ITiDC ของ กฟภ.ด้วย ทำให้เป็นที่สงสัยว่าถ้าโครงการนี้ผู้ชนะการประมูลเป็นบริษัทเดียวกันกับโครงการไอทีของรัฐสภาก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะยังไม่ปรากฎว่าคู่สัญญาของรัฐสภาจะสามารถส่งมอบงานให้เรียบร้อยตามสัญญาได้แต่อย่างใด

          การประกวดราคาดังกล่าว อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการบางรายที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจขัดต่อแนวทางปฏิบัติที่คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ (คณะกรรมการวินิจฉัย) ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ม.8 วรรคหนึ่ง (2) ที่บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐต้องโปร่งใส โดยต้องกระทำโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน ฯลฯ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม